แนะนำวิธีการ สร้างบ้าน ในราคาถูก ด้วยงบ 40,000 บาท
การเริ่มต้น สร้างบ้าน ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างให้ประหยัดที่สุดหรือมีราคาถูกที่สุด แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ใต้บันได พื้นที่ใต้พื้นบ้าน ที่เก็บของ ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่ต้องมาทำเพิ่มภายหลัง

บ้านทรงเรียบง่าย ไม่ยากเกินไปหากคุณอยากสร้างบ้านเอง
บางครั้งการซื้อบ้านสักหลังอาจทำให้เราต้องคิดแล้วคิดอีก ลังเลใจว่าจะซื้อดีหรือไม่ซื้อดี เพราะปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งอย่างก็อยู่ที่งบประมาณของแต่ละคนด้วยที่เข้ามามีส่วนทำให้เราตัดสินใจได้เร็วหรือช้า อสังหาริมทรัพย์
วันนี้เราจึงนำอีกหนึ่งทางเลือกให้กับคนที่กำลังฝันอยากจะมีบ้านสักหลัง หรือใครที่อยากสร้างบ้านเองอาจจะใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องสูงมากแต่ก็สามารถมีแบบบ้านสวนๆ ราคาถูกได้ เหมาะสำหรับคู่รักที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างครอบครัว ไปดูกันดีกว่าว่าหลังไหนตอบโจทย์ความต้องการของคุณกันบ้าง
แบบบ้านชั้นเดียวงบประหยัด ขนาด 1 ห้องนอน งบ 40000

ไม่ว่าบ้านจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ยังไงบ้านก็เป็นที่สำคัญเสมอ เป็นจุดที่ให้เราได้พักอาศัย ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย เมื่อวันหนึ่งที่บ้านเก่าแก่และอยากสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ การศึกษาแบบบ้านและไอเดียเกี่ยวกับบบ้านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ วันนี้เราจึงขอนำเสนอแบบบ้านหลังเล็กๆ หลังนี้ไว้ให้ทุกท่านได้ศึกษานะ
สำหรับบ้านหลังนี้ได้รับการเผยแพร่จากเฟซบุ๊กคุณ Apichaya Kanpakdee ซึ่งตอนนี้เสร็จไปแล้ว 90% กำลังติดตั้งไฟฟ้า ตัวบ้านขนาด 12*8 เมตร ภายในบ้านมีแค่ห้องเดียว 3*3 เมตร หมดงบประมาณในการก่อสร้าง 40,000 บาท พร้อมกระจก ขายบ้านภูเก็ต
บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ออกแบบสไตล์บ้านโมเดิร์น หลังคาทรงเพิงแหงน มุงด้วยเมทัลชีท ผนังใต้เพดานกรุด้วยไม้ฝาสีขาว ผนังด้านหน้าตกแต่งด้วยกระจกอลูมิเนียมวงกบสีดำ มุมหน้าบ้านออกแบบให้มีระเบียงปูพื้นด้วยกระเบื้องสีฟ้าอ่อน ทำราวกันด้วยโครงเหล็กและไม้ฝาสีขาว สำหรับนั่งพักผ่อน พูดคุยกัน และไว้ต้อนรับแขกทีมาเยือน
บ้านหลังนี้ ออกแบบได้กะทัดรัด ใช้งบก่อสร้างเพียง 40,000 บาท ขนาดของบ้านเหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก สำหรับใครที่มีโครงการจะสร้างบ้าน แต่ยังไม่มีแบบบ้านเป็นของตน สามารถนำไอเดียบ้านหลังนี้ไปปรับใช้ได้ ทั้งนี้งบประมาณในการสร้างอาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับค่าวัสดุและค่าแรงช่างในเขตพื้นที่นั้นๆ ด้วย
ตัวอย่างการสร้างบ้านไม้งบประหยัด ใช้งบแค่ 40,000 บาท

ตัวอย่างปลูกบ้านไม้งบประหยัด ใช้งบแค่ 40,000 กว่าบาท มีระเบียงพักผ่อน ผูกเปลนอนกินลมเย็นสบายใจ
บ้านไม้พอเพียงปลูกท่ามกลางธรรมชาติ ที่ออกแบบดีไซด์น่ารักและมีความเป็นธรรมชาติ โอบล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว ที่ทำให้มองเห็นวิวสวยๆของทิวเขาสูงๆ รายล้อมทั่วบริเวณบ้านกับทุ่งนา ตัวบ้านนั้นมีโครงสร้างเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยความอบอุ่นจากธรรมชาติ
บ้านหลังนี้ออกแบบเป็นกระท่อมหลังน้อยปลายนา โครงสร้างไม้เก่าบางส่วน ซึ่งทางเจ้าของบ้านมีไม้อยู่แล้วพื้นใช้ไม้สนนอก ภายในบ้านทำเป็น 2 ห้อง หมดไป 8,400 บาท ตอนก่อสร้างเพื่อนบ้านลงเสาช่วยกันจ่ายแต่ค่าเลี้ยงข้าวซึ่งออกแบบให้มีระเบียงกว้าง สำหรับนั่งพูดคุยกันและทำกิจกรรมต่างๆ
ขนาด 2 ห้อง กว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ซึ่งใกล้เสร็จแล้วอีกนิดเดียวด้วยงบประมาณ 50,000 บาท ซึ่งหมดงบน้อย เนื่องจากคุณพ่อกับคุณลุงมาช่วยทำ เจ้าของบ้านจ่ายไป 3-4 พันบาท
เฉลียงด้านข้างของบ้านกว้างขวางทำจากไม้เนื้อแข็งมีความแข็งแรง เนื้อไม้มีความสวยงาม แม้ไม้ขัดมันทาสีใดๆก็ดูสวยงามมีเสน่ห์ในตัวมันเอง มุมนี้ไม่ต้องมีเฟอร์นิเจอร์อะไรมากมาย มีเพียงแค่เสื่อผื่นหมอนใบ ก็มีความสุข นอนรับลมเย็นได้สบายๆ ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศใดๆ หรือใครอยากนอนเปลชิว ๆ ก็ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่า เป็นอีกแบบกระท่อมหลังน้อยในฝันของใครหลายคน ที่กำลังมองหาแบบบ้านพักหลังเล็กๆ สำหรับพักผ่อนและอยากใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ที่มีบรรยากาศเย็นสบาย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ใช้ชีวิตแบบพอเพียงและเป็นอิสระ
วิธีสร้างบ้านให้ไม่เปลืองงบประมาณ

วางแผนงบประมาณก่อนสร้างบ้าน
การสร้างบ้านไม่ได้มีเฉพาะค่าก่อสร้างตัวบ้านเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างซ่อนอยู่ บางอย่างตัดได้ บางอย่างตัดไม่ได้ มาดูกันว่าเราต้องเตรียมกระเป๋าให้หนากันแค่ไหน เพื่อจะได้สร้างบ้านให้สมดุลกับงบประมาณ บ้าน
สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน
- 66% งานก่อสร้างบ้าน (งานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม ไฟฟ้า และสุขาภิบาล)
- 22% งานตกแต่งภายใน
- 4% งานตกแต่งสวน
- 5% ค่าออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และสุขาภิบาล
- 2% ค่าออกแบบตกแต่งภายใน
- 0.5% ค่าออกแบบสวน
- 0.5% งานยื่นขออนุญาตสร้างอาคาร งานขอน้ำ ไฟฟ้า เลขที่บ้าน
ค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง
- 1. ค่าถมที่ ปรับที่ดิน ในกรณีต้องปรับระดับที่ดินให้สูงขึ้น
- 2. หน้าที่ดินไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ จึงจำเป็นต้องวางท่อระบายน้ำต่อไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ
- 3. หน้าที่ดินไม่มีเสาไฟฟ้า หรือมีเสาไฟฟ้า แต่กำลังไฟไม่เพียงพอ จำเป็นต้องขอขยายเพิ่มจากการไฟฟ้า
- 4. ก่อนออกแบบบ้าน ควรรังวัดที่ดินจริงเพื่อตรวจสอบให้ตรงกับโฉนด โดยติดต่อสำนักงานเขตที่ดิน
- 5. วัสดุก่อสร้างมักมีการปรับราคาอยู่เสมอ ซึ่งอาจทำให้งบประมาณบานปลาย โดยตรวจสอบได้จาก ราคากลาง
ที่ดินแคบยาวควรวางผังอย่างไร
ที่ดินที่มีลักษณะแคบยาวมักมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงพื้นที่ด้านใน และการเชื่อมต่อพื้นที่ของปลายสองด้านที่ไกลกัน หลักการแก้ไขคือ การกำหนดเส้นทางสัญจรแนวนอนให้สั้น เป็นแนวตรงเพื่อลดระยะทางการเดิม และให้ทางสัญจรแนวตั้งอยู่กลางอาคาร เพื่อเข้าถึงพื้นที่ทั้งสองด้านได้ง่ายและไม่ไกลเกินไป บ้านโมเดิร์นคลาสสิค
เส้นทางสัญจร เช่น ทางเดิน โถงบันได ถนน เป็นพื้นที่ที่ใช้งานเป็นครั้งคราว มีทั้งส่วนที่รวมเป็นส่วนเดียวกับพื้นที่ห้อง และเป็นเส้นทางสัญจรเฉพาะ ดังนั้นหากมีการทำเส้นทางสัญจรมากก็จะสิ้นเปลืองพื้นที่ใช้งานและงบประมาณไปด้วย
ออกแบบตัวบ้านให้มีฟังก์ชัน 2 in 1
หากบ้านมีพื้นที่จำกัดหรือต้องการกระชับพื้นที่บ้าน การออกแบบตัวบ้านให้มีฟังก์ชันหลากหลาย และเป็นส่วนเดียวกับตัวบ้าน ก็จะช่วยประหยัดพื้นที่และลดงบประมาณเมื่อเทียบกับการมาทำเพิ่มเติมภายหลัง มาดูไอเดียการออกแบบฟังก์ชัน 2 in 1 กัน
- ผนังบังแดด + ที่เก็บของ ทำผนังให้เป็นตู้หรือชั้นเก็บของไปในตัว ด้วยการทำพื้นและก่อผนังยื่นออกไปตามความลึกตู้ที่ต้องการ ก็ช่วยประหยัดพื้นที่และโครงสร้างในการทำตู้ และผนังที่ยื่นยังช่วยบังแดดและลดความร้อนเข้าตัวบ้านได้ด้วย
- ราวกันตก + ที่นั่ง ทำราวกันตกพร้อมทำที่นั่งเป็นชิ้นเดียวกัน นอกจากใช้งานได้มากขึ้นยังประหยัดพื้นที่ด้วย
- พื้นยกระดับ + ที่นั่ง ทำพื้นต่างระดับ เช่น พื้นเฉลียง ให้สูง 40 – 45 เซนติเมตร ก็ใช้เป็นที่นั่งเอกเขนกได้
- ขั้นบันได + ที่เก็บของ พื้นที่ใต้ขั้นบันไดซึ่งเป็นพื้นที่ว่าง สามารถทำเป็นที่เก็บของได้ โดยไม่ต้องทำโครงสร้างใหม่